ระบบวรรณะในอินเดีย
(ที่มา : https://www.bbc.com/news/world-asia-india-35650616)
ระบบวรรณะ
(caste
system ) เป็นการจัดกลุ่มสังคมต่าง ๆ เพื่อเป็นระเบียบในการทำงานพิเศษตามลำดับความสูงต่ำของอำนาจและศักดิ์ศรี
การแบ่งงานกันทำเป็นมูลฐานของแบ่งชั้นวรรณะ เพราะบุคคลที่อยู่ในวรรณะต่าง ๆ
ประกอบอาชีพแตกต่างกัน ดังนั้น
ระบบวรรณะจึงเป็นความสัมพันธ์ของสถานภาพซึ่งจำกัดบุคคล
นั่นคือสถานภาพโดยกำเนิดเป็นตัวกำหนดช่วงชั้นทางสังคม
ในสังคมอินเดียมีความเชื่ออย่างแรงกล้าว่า
ฐานะและหน้าที่ของมนุษย์มีความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มหรือวรรณะ
โดยมีความสอดคล้องกับอวัยวะส่วนต่าง ๆ อันเป็นที่มาของมนุษย์ด้วย คือ
1)
พราหมณ์ คือนักบวชที่มีฐานะสูงที่สุด มีหน้าที่ศึกษาคัมภีร์พระเวท
เป็นผู้สวดอ้อนวอน ทำพิธีกรรมบูชาและติดต่อกับพระผู้เป็นเจ้า
ตลอดจนนำคำสอนจากพระผู้เป็นเจ้ามาเผยแพร่แก่มนุษย์
ดังนั้นนอกจากการเป็นนักบวชแล้ววรรณะพราหมณ์ยังประกอบด้วยผู้มีอาชีพอื่นที่เกี่ยวเนื่องกันด้วย
เช่น ครูอาจารย์ นักคิด ผู้ตั้งกฎหมาย ผู้พิพากษา เสนาบดี ตลอดจนปุโรหิตผู้เป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์
2)
กษัตริย์ เนื่องจากมีที่มาจากส่วนแขนดังนั้น หน้าที่ของวรรณะกษัตริย์
คือ การรบป้องกันบ้านเมืองในยามสงครามตลอดจนปกครองบ้านเมืองให้มีความร่มเย็นเป็นสุข
ในยามสงบคนในกลุ่มนี้คือพระมหากษัตริย์ เจ้าประเทศราช รวมไปจนถึงกลุ่มนักรบด้วย
3)
แพศย์ เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพต่าง ๆ เพื่อจรรโลงสังคม เช่น เกษตรกร
พ่อค้า ช่างฝีมือ เจ้าที่ดิน และผู้ให้กู้ยืมเงิน เป็นต้น
4)
ศูทร คือ กลุ่มที่มีวรรณะต่ำที่สุด
เป็นคนผิวดำที่ต่างเผ่าพันธุ์กับอารยัน มีหน้าที่เป็นผู้รับใช้ผู้ที่มีวรรณะสูงกว่าคนในกลุ่มนี้จึงได้แก่
กรรมกรและทาสเป็นสำคัญ
นอกจากนี้ยังคนอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความต่ำต้อยยิ่งกว่าวรรณะศูทร
คนกลุ่มนี้คือพวกนอกวรรณะ (outcasts) ซึ่งอาจเรียนแตกต่างกันไป
เช่น จัณฑาล ทลิต หรืออื่นๆ
อ้างอิง
BBC.
(2019). What is India's caste system?. ค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2563, จาก https://www.bbc.com/news/world-asia-india-35650616
สุรางค์ศรี
ตันเสียงสม. (2008). อารยธรรมตะวันออก. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
No comments:
Post a Comment