ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี
(ที่มา : https://www.tripsinegypt.com/egypt-old-kingdom/)
1.ประวัติความเป็นมา
ผลงานที่สำคัญของอาณาจักรบาบิโลน ได้แก่ ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (The Code of Hammurabi) โดยพระเจ้าฮัมมูราบี (Harmornurabi, 1742-1745 ปีก่อนคริสต์ศักราช) หลักการของกฎหมายมีรากฐานมาจากกฎหมายของพวกซูเมเรีย แต่ได้จัดให้เป็นระบบระเบียบ เป็นการสร้างความยุติธรรมให้แก่สังคม และ “ทำลายความชั่วร้ายเลวทราม ป้องกันไม่ให้ผู้อื่นที่เข้มแข็งกว่ากดขี่ผู้ที่อ่อนแอกว่า ....” ประมวลกฎหมายของฮัมมูราบียึดถือหลัก“ ตาต่อตาฟันต่อฟัน” ในการลงโทษ กล่าวคือให้ใช้การทดแทนความผิดด้วยการกระทำอย่างเดียวกัน กฎหมายฮัมมูราบีจารึกในศีลาสีดำทรงกระบอกสูง ๒.๕๐ เมตรบนยอดหัวเสาสลักรูปเทพเจ้ามาร์ดุก (Marduk) กำลังประทานกฎหมายให้แก่พระเจ้าฮัมมูราบี ประมวลกฎหมายมีจำนวนกว่า 60 แถวรวมกัน 300 มาตรา ประมวลกฎหมายฮัมมูราบีถือเป็นการรวบรวมกฎหมายใหม่ที่เรียกว่า มิชารัม (mitharun) แปลว่าการทำให้ถูกต้อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขความอยุติธรรมต่าง ๆ ของกฎหมายเผ่า แม้จะได้ชื่อว่าเป็นกฎหมาย“ ตาต่อตาฟันต่อฟัน” แต่ก็มีบทลงโทษชนชั้นที่แตกต่างกัน ดังปรากฏข้อความว่า“ ถ้าเจ้าหน้าที่ทำลายลูกตาของสมาชิกชนชั้นขุนนาง เขาเหล่านั้นสามารถทำลายลูกตาของเจ้าหน้าที่ได้....ถ้าเขา(เจ้าหน้าที่) ทำลายลูกตาของสามัญชนหรือทำให้กระดูกหัก เขาผู้นั้นต้องจ่ายเงินจำนวนหนึ่งเหรียญมินา” อย่างไรก็ดี ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี ก็นับเป็นความพยายามที่จะสร้างระเบียบวินัยขึ้นในสังคมและขจัดความอยุติธรรมต่าง ๆ
2.ตัวบทกฎหมาย
ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี ประกอบด้วย 282 มาตรา ซึ่งครอบคลุมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐและประชาชน เช่น กฎหมายด้านเศรษฐกิจ(ราคา, ภาษี และการค้า) กฎหมายครอบครัว(การสมรส และการหย่า) กฎหมายอาญา กฎหมายพลเมือง(ทาส และหนี้) ส่วนบทลงโทษนั้นจะสอดคล้องกับสถานะทางสังคม(ชนชั้น) นอกจากนี้ประมวลกฎหมายฮัมมูราบียังเป็นกฎหมายฉบับแรกที่คำนึงถึงสิทธิสตรีและให้สิทธิเธอในการฟ้องหย่าสามีได้
เอกสารอ้างอิง
สัญชัย สุวังบุตรและคณะ. (2012). ประวัติศาสตร์สากล ม.4-6. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.
No comments:
Post a Comment