เส้นทางสายไหม
(Silk
road)
การที่ “เส้นทางสายไหม หรือ เส้นทางสายแพรไหม”
กลับมาเป็นที่สนใจของโลกในศตวรรษที่ 21 นั้น ไม่ใช่เพียงเพราะความยิ่งใหญ่ในทางประวัติศาสตร์เท่านั้น
แต่มันยังสัมพันธ์กับการเติบโตทางเศรษฐกิจและการเมือง
ของสาธารณรัฐประชาชนจีนที่พลิกโฉมโลกอย่างไม่มีวันหวนคืน หรือหากจะพูดให้ชัดเจนก็คือ
นโยบาย BRI ของจีน ที่ใช้เส้นทางสายไหมเป็นตัวเชื่อมโยง
และกำหนดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศ เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะมีความรับรู้และความเข้าใจในเรื่อง
เส้นทางสายไหม
1. ทำไมถึงเรียกว่า เส้นทางสายไหม
2. กำเนิดเส้นทางสายแพรไหม
เส้นทางสายไหมเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่น
ในรัชสมัยของฮั่นอู่ตี้ ในสมัยนั้นอาณาจักรฮั่นถูกพวกชนเผ่าเร่ร่อนที่มีชื่อว่า
"ซงนู๋" รุกรานอยู่บ่อย ๆ ฮ่องเต้ฮั่นอู่ตี้จึงส่งขุนนางผู้มีชื่อว่า
"จางเชียน" ไปเจริญสัมพันธ์กับแคว้นต่าง ๆ ทางตะวันตก เพื่อชักชวนให้แคว้นเหล่านั้นหันมาเป็นพันธมิตรต่อต้านการรุกรานของพวกซงนู๋ด้วยกัน
แต่ระหว่างเดินทางนั้นจางเชียน ถูกพวกซงนู๋จับตัว และถูกกักขังไว้เป็นเวลาร่วมสิบปี
แต่สุดท้ายจางเชียนก็สามารถหลบหนีออกมาได้
ซึ่งเขาก็ไม่ลืมภาระที่ได้รับมอบหมายและมุ่งหน้าสู่เอเชียกลาง
แต่ขณะนั้นบรรดาแคว้นต่าง ๆ ล้วนพอใจกับสถานะที่เป็นอยู่ไม่มีใครยอมร่วมเป็นพันธมิตร
เท่ากับว่าจางเชียนคว้าน้ำเหลวอย่างสิ้นเชิงในภารกิจที่ได้รับมอบหมาย แต่เขาก็สามารถพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส
จางเชียนจดบันทึกข้อมูลทั้งหลายตลอดเส้นทางเกี่ยวกับทางภูมิศาสตร์ วิถีชีวิต
การค้าการขายต่าง ๆ ถวายแด่ฮ่องเต้ฮั่นอู่ตี้ เพื่อแปลงสนามรบเป็นสนามการค้า หลังจากนั้นอาณาจักรฮั่นก็ส่งสินค้าไปค้าขายกับทางตะวันตก
สินค้าที่ขึ้นชื่อในยุคนั้น คือ ผ้าไหม
3.เส้นทางสายไหมพาดผ่านประเทศใดบ้าง
แผนที่แสดงเส้นทางสายไหมในยุคโบราณ
(ที่มา: http://siamteas.com)
เอกสารอ้างอิง
HistoryExtra. (2015). Your guide to the Silk Road.
ค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2563, จาก
https://www.historyextra.com/period/ancient-history/silk-road-trade-route-length-history/
McKenna, Amy. (2019). Silk road. ค้นเมื่อ
25 สิงหาคม 2563, จาก https://www.britannica.com/topic/Silk-Road-trade-route
สุรางค์ศรี
ตันเสียงสม. (2008). อารยธรรมตะวันออก. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ :
โครงการเผยแพร่ผล งานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.